ขี้เกียจ ผลัดวันประกันพรุ่ง

ทำไมเราถึงขี้เกียจและผลัดวันประกันพรุ่ง?

ขี้เกียจเรียน ขี้เกียจทำงาน ขี้เกียจออกกำลังกาย แล้วเคยสงสัยมั้ย ว่าทำไมเราถึงขี้เกียจและผลัดวันประกันพรุ่ง?
มีงานวิจัยหัวข้อนี้มั้ย? มาครับ เดี๋ยวไลฟ์โค้ชพี่ฟ้าใสจะเล่าให้ฟัง #goodquestion.

อย่าเพิ่งฟันธง ว่าตัวเองขี้เกียจ

คำว่าขี้เกียจ ก็มีหลายมิติ หลายปัจจัย และซับซ้อนเกินกว่าที่เราจะระบุได้แบบขาว ดำ
เราอาจจะไม่ได้ขี้เกียจ เราแค่เจอกับความเครียด จนเหนื่อยมาก และ Burnout เพราะหมดแรง

  • บางคน อาจจะขี้เกียจแค่บางเรื่อง (ไม่ขี้เกียจเล่นเกม แต่ขี้เกียจเรียน)
  • บางคน อาจจะขี้เกียจแค่บางเวลา (เวลาเหนื่อยมากๆ ก็ขี้เกียจ)
  • บางคน อาจจะขี้เกียจแค่เวลาอยู่กับบางคน (อยู่กับแม่ขี้เกียจได้ แต่กับพ่อโดนด่าแน่)
  • บางคน อาจจะขี้เกียจเพราะไม่รู้ว่าจะทำบางอย่างไปเพื่ออะไรบางคน อาจจะขี้เกียจเพราะรางวัลในการลงมือทำ ไม่คุ้มค่ากับความเหนื่อย
  • บางคน อาจจะขี้เกียจขยับตัว แต่เขาใช้ความคิดเยอะ 

ปัจจัยมันเยอะมาก ความซับซ้อน ลื่นไหล และ “ปัจเจก” นี้เป็นธรรมชาติของ Soft Science หรือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับมนุษย์ 

แล้วทำยังไงดี? 

พฤติกรรมและอุปนิสัยของมนุษย์ซับซ้อน เกินกว่าที่จะสามารถนิยาม หรือฟันธงชัดๆได้ สิ่งที่เราทำได้ คือการแบ่งโจทย์ให้ชัดเจน ลองแบ่งปัญหาเป็นสองส่วนหลักๆ

  • ปัญหาที่ 1: รู้สึกว่าการเริ่มต้นลงมือทำอะไรบางอย่าง เป็นสิ่งที่ยาก เราจะระบุปัญหานี้ว่า Procrastination หรือการผลัดวันประกันพรุ่ง
  • ปัญหาที่ 2: รู้สึกไม่มีแรงกาย แรงใจ ในการลงมือทำอะไรบางอย่างให้ต่อเนื่อง เราจะระบุปัญหานี้กว้างๆว่า รู้สึกขี้เกียจ

บทความนี้เป็นการสรุปสิ่งที่น่าสนใจ จากงานวิจัยปี 2021 โดย Denis Dautov ซึ่งมีความเห็นตรงกับคอร์สเกี่ยวกับ 
Change Psychology (การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของมนุษย์ ผ่านการเข้าใจกลไกจิตวิทยา) 
เราอาจจะสามารถสังเกตตัวเอง และนำไปปรับใช้ได้ 

CASE STUDY 1

 ทำไมเราไม่เริ่มสักที? สาเหตุที่คนบางกลุ่มอาจจะผลัดวันประกันพรุ่ง เป็นเพราะเขาอาจจะขาดสภาพแวดล้อมบางอย่างในการ “เริ่มลงมือทำ”

ถ้าห้องรก เสียงดัง หรือมือถือสั่นตลอดเวลา เราก็อาจจะไม่ค่อยมีสมาธิ ทำให้เราไม่ได้ลงมือทำสิ่งอื่นๆ (ส่งผลต่อการเรียนและการทำงาน)
ถ้ารอบๆตัวมีแต่ขนม น้ำหวาน หรือคนใกล้ๆตัวมีนิสัยการกินจุกจิก เราก็อาจจะได้กินของเหล่านั้นมากขึ้นทำให้เริ่มต้นเปลี่ยนพฤติกรรมการกินได้ยาก

ACTION 1

สิ่งที่เราทำได้ คือการเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ทีละนิดทีละหน่อย ซึ่งเราเริ่มจากสิ่งที่เล็ก และใกล้ตัวก่อน 
เช่น การเติมน้ำเปล่าใส่ขวดไว้ เอาวางไว้รอบบ้าน หรือการซื้ออาหารที่มีประโยชน์มาเติมในตู้เย็น 
สังเกตว่าการทำแบบนี้ จะทำให้เราไม่ต้อง “ขัดแย้ง” กับตัวเอง และไม่ขัดแย้งกับคนอื่นจนใช้ชีวิตยาก
(แม่ทำไข่เจียวให้กิน ก็กินได้! แต่เราเองก็ต้องมีอาหารที่เราวางแผนไว้เองด้วยส่วนหนึ่ง) 

นี่แค่จุดเริ่มต้นสิ่งที่สำคัญ คือค่อยๆเปลี่ยนไปทีละอย่าง 

CASE STUDY 2 

สาเหตุที่เราขี้เกียจ อาจจะเป็นเพราะเราขาดทักษะ ความรู้ หรือเครื่องมือบางอย่าง ทำให้เราไม่มั่นใจในสิ่งที่ต้องทำ 

ACTION 2

ถ้าเรารู้สึกว่าเรามีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการ ลงมือทำอะไรบางอย่าง เพราะเรากลัวทำได้ไม่ดี หรืออาจจะรู้สึกว่าสิ่งนั้นๆมันยากเกินไป หรือไม่มั่นใจ 
สิ่งที่เราสามารถทำได้ คือการ “ย่อย” เป้าหมาย หรือกิจกรรมนั้นๆ ให้เล็กลงมาเป็นสิ่งที่เราสามารถรับมือได้ และตั้งเป้าหมายเป็น “การกระทำเล็กๆ” 

เราไม่แนะนำให้ตั้งเป้าหมายเป็นตัวเลข เช่น อยากลด 10kg หรือยกเวท 100kg หรือมีเงิน 1 ล้านภายในเวลา…..ปี 
เพราะตัวเลขพวกนี้มันเป็นแค่ตัวเลขมโนที่ไม่ได้อิงกับทักษะ ความรู้ ความสามารถ หรือแม้แต่ความพร้อมของสภาพจิตใจของเรา
ดังนั้น แนะนำให้ตั้งเป้าหมายเป็น

“ฉันจะทำ…..ทุกวัน เป็นเวลา…..นาที” และถ้าเรารู้สึกว่ามันยังยากอยู่ ก็สามารถลดความยาก 
หรือลดเวลาลงมาให้ตัวเองรู้สึกว่ามันง่ายขึ้นได้

สรุป

ความขี้เกียจ มีหลายมิติ เราไม่ได้ขี้เกียจ ในทุกเรื่อง ดังนั้นอย่าตีตราตัวเอง เพราะการกดดันตัวเอง อาจจะไม่ได้ช่วยให้เราหายขี้เกียจได้เสมอไป
สิ่งที่เราทำได้ คือการรู้ตัว ว่าเราขี้เกียจในหัวข้อไหน เพราะอะไร 

  • ปรับการตั้งเป้าหมาย ให้เป็นไปได้จริง
  • ปรับสิ่งแวดล้อม ใกล้ๆตัว
  • ปรับ “วิธี” ในการลงมือทำของเรา

DO WHAT YOU CAN ทำ ในสิ่งที่ทำได้ ให้สม่ำเสมอ 

#แก๊งอ่านจบ ถ้าชอบหัวข้อ Soft Science แบบมีงานวิจัย และ ACTION ให้ลงมือทำได้

เมนต์มาว่า FTF ครับ! 

สนใจสอบถามข้อมูล FIT TRANSFORM MEMBER CLICK!