ถ้าคุณเป็นคนนึง ที่รำคาญพาดหัวประเภทนี้ และสงสัยว่า เอ๊ะ Beer Belly และความเชื่อที่เราเห็น ดื่มเบียร์ทำให้ลงพุง จริงไหม
ในเน็ตเนี่ย มันจริงไหม … อ่านต่อเลย
บทความนี้ เขียนให้ทั้งคนที่ชอบดื่ม และคนที่ไม่ดื่มอ่าน #goodquestion
มาเริ่มกับสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงก่อน
หลักฐานนับไม่ถ้วน ชี้ไปทางเดียวกันว่า มนุษย์เรา ถ้าได้รับพลังงานมากเกินไป และใช้ไม่หมด ก็เก็บสะสม ซึ่งในกรณีนี้ เกิดขึ้นกับสารอาหารทุกชนิดที่ให้พลังงาน ไม่ว่าจะแป้ง โปรตีน และไขมัน…. แล้ว Alcohol ล่ะ?
ถ้าว่ากันตามเทคนิคแล้ว Alcohol ก็นับเป็น Macronutrient นะ เพราะ Alcohol 1g ให้พลังงาน 7kcal
เพียงแต่เราไม่ค่อยพูดถึง Alc ในบริบทของสารอาหารเท่าไหร่ เพราะยังไงก็ไม่ใช่สิ่งที่เรา “ควร” ได้รับเป็นพลังงานหลัก
ซึ่งเครื่องดื่มแต่ละชนิด ก็มีปริมาณ Alc ไม่เท่ากัน ลองแบ่งง่ายๆ
- Beer ประมาณ 4-5%
- Wine ประมาณ 12%
- Distilled Spirit (สุรากลั่น เช่น Vodka เหล้าขาว) มีตั้งแต่ 40% ขึ้นไป
ซึ่งอ้างอิงจาก National Institute on Alcohol Abuse and Alcoholism
เขาแนะนำว่า ใน 1 Drink มี Alcohol ประมาณ 14g
จำคำว่า 1 Drink ไว้ให้ดี เพราะในอนาคตอาจจะได้กลับมาพูดถึงเรื่องนี้กันอีก!
ซึ่งถ้าวัดแบบกะเอาคร่าวๆ
- Beer ประมาณ 1 กระป๋องเล็ก
- Wine 1 แก้ว
- Distilled Spirit 1 Shot
แน่นอนว่าแต่ละยี่ห้อก็ต่างกัน เอาเป็นว่านี่คือปริมาณคร่าวๆ ที่สมเหตุสมผล และเราคงจะเห็นพ้องต้องกันได้ว่า มันไม่ได้เยอะเว่อร์
(เช่นถ้าบอกว่า 1 Drink คือ Beer 1 TOWER นี่ไม่ใช่ละ) ทีนี้คำถามยอดฮิทคือ
แล้วเบียร์ทำให้ลงพุงจริงไหม?
เราต้องแยกให้ออกก่อน ระหว่าง Causation (สาเหตุ) กับ Correlation (มีการเชื่อมโยง)
งานวิจัยโดย Schroder et al ในปี 2007 พบการเชื่อมโยง การดื่ม Alcohol กับขนาดรอบเอว อย่างชัดเจน
ซึ่งปริมาณที่เยอะในงานวิจัยนี้คือ มาก กว่า 3 Drinks ต่อวัน
งานวิจัยในปี 2009 Schutze et al ในปี 2009
ก็เลยสงสัยว่า เอ๊ะ แล้วที่เรียกๆกันว่า ดื่มเบียร์ทำให้ลงพุง Beer Belly หรือลงพุงเนี่ย มันมาจาก Beer หรือมาจากพลังงานกันแน่
และพบว่า อ้าว จริงๆแล้ว ที่รอบเอวเพิ่มเนี่ย มาจากระดับพลังงานที่ได้รับที่เพิ่มมากเกินไป
(พูดง่ายๆ เกิด Surplus) และพูดไว้ชัดเจนเลยว่า
“งานวิจัยนี้ไม่สนับสนุนความเชื่อว่าการกินเบียร์ คือเหตุผลของการลงพุง หรือการเก็บไขมันเฉพาะจุด”
ที่นี้เราก็อยากรู้ว่า เอ๊ะ แล้วมีงานวิจัยที่ทำในคนเอเชียมั้ย …
มี! หามาให้แล้ว อันนี้จอง Ryu et al ปี 2010 ทำในเกาหลี ก็พบว่ามีการเชื่อมโยงการดื่ม Alc กับขนาดรอบเอว
มาดูงานวิจัยของ Bendsen ในปี 2013 ซึ่งเป็น Meta-Analysis
ซึ่งศึกษาข้อมูลจากหลายๆงานวิจัยแบบ Observational Study 35 งาน (งานศึกษาเชิงสังเกต)
และ Experimental Study 12 งาน (การศึกษาเชิงทดลอง)
ซึ่งหลักๆ พบว่าการดื่ม Beer มากกว่าวันละ 500ml อาจจะ (ย้ำคำว่าอาจจะ) มีการเชื่อมโยงกับการลงพุง
แต่อ่านดีๆ งานวิจัยที่สนับสนุนพวกนี้ เขาแค่พบว่า มันมีการเชื่อมโยง หรือ Correlation
ระหว่างคนที่มีพฤติกรรม ดื่มเยอะๆ กับรอบเอวที่เพิ่มขึ้น
ย้ำที่คำว่า Correlation หรือ Association ซึ่งแปลว่าการเชื่อมโยง เกี่ยวข้อง
ซึ่งสาเหตุ มันอาจจะไม่ได้มาจาก Alcohol หรือ Beer อย่างเดียว! ภาษาอังกฤษ จะมีวลีนึง ที่เด็กเนิร์ดสายวิทย์จะชอบท่อง
“Correlation is not causation”
หรือแปลว่า “การเชื่อมโยง ไม่ใช่สาเหตุ”
เพราะสาเหตุที่จะทำให้คนเราอ้วนได้เนี่ย มันมีเยอะมากกกกกก
(ไม่ต้องพยายามนับ มันนับไม่ได้ เพราะแต่ละเหตุผล บางทีก็กระทบกันเกิดเป็น Overlapping Chain of Causation
หรือห่วงโซ่แห่งเหตุผล ที่ไม่มีทาง ย้ำว่า IMPOSSIBLE ที่จะจำแนก และนับได้)
แต่หลักๆ แปลเป็นภาษามนุษย์ก็คือ เราอ้วน เพราะเรา Surplus และจะลดความอ้วน ก็ต้องเกิด Deficit
เอาจริงๆบทความนี้ ผมอยากสื่อว่า…. Correlation (การเชื่อมโยง A กับ B) มักจะถูกนำมาก่อเป็นเรื่องเล่า
และสำนักสื่อต่างๆนี่แหละ ตัวดี ชอบพาดหัวข่าวที่ชวนให้เข้าใจผิด
“นักวิจัยพบว่า เบียรทำให้ลงพุง”
ดื่มเบียร์กี่ ml? แล้วนอกจากดื่มเบียร์มีพฤติกรรมอื่นป่าว? นอกจากพุงเนี่ย ส่วนอื่นเพิ่มด้วยมั้ย?
“แพทย์ชาวญี่ปุ่น พบว่ายิ่งหิว ยิ่งสุขภาพดี”
วัดยังไงอะ ว่าหิวเท่าไหร่ สุขภาพดีแค่ไหน? สุขภาพดีในแง่ไหน Sex Health ดีด้วยป่าว?
“นักวิจัยพบ ว่า ทำ KETO ช่วยเผาผลาญไขมันได้ดี”
แล้วถ้าไม่ทำ Keto ไขมันจะไม่เผาผลาญเลยงี้? เผาผลาญไขมันได้ดี (เกิด Fat Oxidation)
แล้วลดไขมันสะสมได้ในทุกกรณีหรือเปล่า (Net Fat loss)?
“เช้ากินอย่างราชา เย็นกินอย่างยาจก ถึงจะสุขภาพดี”
ขอตัวอย่างที่เป็นวิทยาศาสตร์หน่อย เอาแบบที่วัดได้ในเชิงสถิติเพื่อนำไปทำ Controlled Study ได้ว่า
อาหารของราชา และยาจกทั่วโลกเนี่ย มีอัตราส่วน Calorie และ Macronutrients เท่าไหร่
ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ เอาจริงๆมันไม่ได้ “ผิด” แต่มันแค่ “ไม่ถูกต้องเสมอไป”
และพอถูกพูดกันบ่อยๆ กลายเป็นความเชื่อที่ไม่มีใครกล้าเถียง เพราะไม่มีใครเอางานวิจัยมานั่งชำแหละกัน
นี่แหละ คือสิ่งที่ผมอยากทำให้ FTF แตกต่าง
มีเพื่อน มีครอบครัว ชวนมาสมัครกันเยอะๆนะครับ
ยังมีบทความลึกๆแบบนี้อีกเยอะเลย (ขอเวลาเรียบเรียงหน่อยย บางบทความหาข้อมูลเป็นเดือนเลย)
บทความนี้ยาวหน่อย หวังว่าจะอ่านสนุกนะครับ
#แก๊งอ่านจบ
ขอกำลังใจนิดเดียว เม้นมาสั้นๆว่า “เอาอีก” จะดีใจมากๆ
ใครอยากฟังเรื่องเบียร์กับการออกกำลังกายเพิ่ม คลิปนี้เลย
References
Standard Drink: National Institute on Alcohol Abuse and Alcoholism
https://www.niaaa.nih.gov/alcohols-effects-health/overview-alcohol-consumption/what-standard-drinkSchroder et al 2007 Relationship of abdominal obesity with alcohol consumption at population scale
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17885722/
Schutze et al 2009 Beer consumption and the ‘beer belly’: scientific basis or common belief?
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19550430/
Ryu et al 2010 Association between Alcohol Intake and Abdominal Obesity among the Korean Population
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21191460/
Bendsen et al 2012 Is beer consumption related to measures of abdominal and general obesity? A systematic review and meta-analysis
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23356635/