ถ้าเราลดความอ้วน แต่ไม่ชั่งน้ำหนักเลยได้ไหม

ถ้าเราลดความอ้วน แต่ไม่ชั่งน้ำหนักเลยได้ไหม?

งานวิจัยใหม่ๆ พบว่าการ FOCUS ที่การลดน้ำหนักตัว อาจจะกำลังจะตกยุค จริงไหม?
ถ้าเราลดความอ้วนไม่ชั่งน้ำหนักเลยจะเป็นยังไง จะวิเคราะห์ให้ฟัง 

#goodquestion 

น้ำหนักตัวมากเกินไปก็ไม่ดี 

งานวิจัยมากมายพบการเกี่ยวโยงระหว่างการมีน้ำหนักตัวมากเกินไป กับปัญหาสุขภาพมากมาย 
เช่นโรคหัวใจและหลอดเลือด หลอดเลือดสมองตีบตัน เบาหวาน โรคข้อเสื่อม และมะเร็ง
ซึ่งโรคกลุ่มนี้มักจะเรียกว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDS (Non communicable disesases)
ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่รวมๆแล้ว เป็นเหตุของการเสียชีวิตของคนมากมายในโลก และเปลืองเงินในการรักษาด้วย

ปัญหาของน้ำหนักตัว

ในร่างกายมนุษย์ ไม่ได้มีแค่น้ำหนักไขมัน แต่เรามีน้ำในร่างกายในปริมาณที่เยอะมากถึง 60-70% 
ซึ่งเวลาที่เราออกกำลังกาย หรือเริ่มดูแลอาหารการกิน น้ำหนักที่ลดไปเร็วๆในช่วงแรกจึงเป็นน้ำในร่างกายซะส่วนใหญ่ ไม่ใช่ไขมัน

รวมถึงในแต่ละวัน บางคนก็มีการผันผวนของน้ำหนัก เช่น ชั่งตอนเช้า หนัก 80 ชั่งตอนเย็น หนัก 82 
ทำให้การใช้แค่น้ำหนักตัวเป็นตัววัดพัฒนาการ อาจจะทำให้เรา FOCUS ผิดจุด

การหลงดีใจ เพราะน้ำหนักลดเร็วๆ หรือ การเครียด เพราะน้ำหนักเด้ง อาจจะส่งผลต่อกำลังใจในการลดไขมันของเรา ดังนั้นต้องสังเกตตัวเองดีๆ

การจะมีสุขภาพดีได้ มีปัจจัยอื่นๆ

งานวิจัยของ Gaesser, 2021 ตั้งคำถามว่า การลดน้ำหนัก อาจจะไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด ในการแก้ปัญหาโรคอ้วน
Gaesser ได้แบ่งแนวทางการลดความอ้วน เป็นสองแบบหลักๆ

  1. Weight Centric Approach  เน้นการลดน้ำหนักเป็นหลัก ซึ่ง Gaesser อ้างอิงงานวิจัยในอดีต
    พบว่าคนที่พยายามลดน้ำหนักโดยไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ อาจจะเจอปัญหา “วัฐจักร การลดน้ำหนัก ล้มเหลว
    และกลับมาอ้วนใหม่” ทำให้ในปลายทางไม่ได้เกิดผลดีต่อสุขภาพอย่างที่คาดหวังกัน 
  2. Weight Neutral Approach เน้นที่การพัฒนาสมรรถภาพร่างกาย เพิ่มกิจกรรม การใช้ร่างกาย
    เพิ่มการออกกำลังกาย และพัฒนาสมรรถภาพร่างกาย
    ซึ่งไม่ได้ซีเรียสว่าน้ำหนักจะลดแค่ไหน (บางเคส น้ำหนักเพิ่ม เพราะมวลกล้ามเนื้อเพิ่ม ก็สุขภาพดีได้) 

แนวคิดแบบ Weight Neutral Approach อิงมาจากการมองเห็นว่าการจะสุขภาพดีได้ มีปัจจัยอื่นๆ 
เพราะนอกจากน้ำหนักตัว เช่นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอึด ความแข็งแรงของหัวใจ ระบบไหลเวียน ปอด
ทักษะการเคลื่อนไหว การนอน ระดับความเครียด สมดุลของโภชนาการ และ…. สภาพจิตใจ 

ต้องเลิกชั่งน้ำหนักไหม?

ไม่… แต่เราแค่ไม่ต้องหมกมุ่นกับน้ำหนักตัวถึงขั้นต้องชั่งทุกวัน 
(เพราะน้ำหนักที่เพิ่มลดแต่ละวัน มันเป็นน้ำซะส่วนใหญ่! จะชั่งไปทำไม?) อาจจะจดคร่าวๆ เดือนละครั้งก็พอ เพื่อให้เห็นภาพกว้างๆ

อ้างอิงงานวิจัยของ Spreckley, 2021 เป็น Systematic Review & Thematic Synthesis 
ซึ่งศึกษาจากงานวิจัยที่คัดมาแล้ว 15 งาน (Peer-reviewed)  ซึ่งมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 294 คน

งานวิจัยที่คัดมา Range ตั้งแต่จาก 1990 ยัน 2020 ในงานวิจัยนี้ พบว่า การจะลดความอ้วนได้ผลในระยะยาว
มีปัจจัยที่สำคัญมากถึง 10 ข้อ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือการเช็คตัวเอง อย่างสม่ำเสมอ

Continuous Self-Monitoring

การเช็คตัวเอง สามารถทำได้หลายวิธี เช่น จะชั่งน้ำหนัก หรือการจดปริมาณอาหาร จดบันทึกการออกกำลังกายของเราในแต่ละวัน
ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการเช็คว่า เราทำอะไร และทำสม่ำเสมอแค่ไหน

อย่าลืมว่าการชั่งน้ำหนัก ไม่ได้ทำให้เราผอม
สิ่งที่จะทำให้เราลดไขมันได้ สุขภาพดีขึ้น หรือหุ่นดีขึ้น คือการลงมือทำ 
ดังนั้นเอาเวลาไปลงมือ ออกกำลังกาย ดูแลการกิน ซึ่งถ้าอยากได้แนวทาง โปรแกรม ที่อิงกับวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย

แนะนำให้สมัคร FTF Member 
ใน FTF จะมีโปรแกรมรายเดือน และมีการสรุปงานวิจัยใหม่ๆเข้าใจง่ายๆ อ่านสนุก ลงให้ทุกสัปดาห์ (แทบจะวันเว้นวัน)
ได้ทั้งความรู้ และได้แนวทาง 

สมัครง่ายมาก
ทัก Inbox มาหาแอดมินได้เลยตอนนี้
ราคาพิเศษช่วงนี้เท่านั้นเดือนเเรก 900 บาท
*เดือนต่อไปเพียง 499 บาท/เดือน (ตกวันล่ะ 16 บาท)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
☎️ โทร. 099-613-4502
💬 Line: @fitjunctions หรือ https://lin.ee/fW4S6Lc

บทความเพิ่มเติม CLICK