ใครเคยรู้สึกว่าตัวเองออกกำลังกายไม่มากพอบ้าง?
หรือมีความกังวลว่าจะไม่ได้ผล? จนเกิดความเครียด สับสน บางคนถึงขั้นจิตตก!
สรุปแล้วเราต้องออกกำลังกายหนักแค่ไหนถึงจะดี? ถ้าออกกำลังกายไม่หนักพอ จะฟิตหุ่นได้ไหม?
ตอบสั้นๆ เลยว่า “ได้!” เพราะการจะลดไขมัน ฟิตหุ่นให้ดี ยังมีอีกหลายมิติให้เรียนรู้มาก
ปริมาณ และ คุณภาพ คือ 2 สิ่งที่ต้องคำนึงอยู่เสมอ
การใช้ความรู้สึกเหนื่อย น้ำหนักที่ยกได้ หรือแม้แต่ระยะทางที่เราวิ่งได้ เป็นเพียงผลลัพธ์ระยะสั้นๆ
ที่ไม่ได้สะท้อนถึงผลลัพธ์ในระยะยาว เพราะการจะออกกำลังกายให้ได้ผลในระยะยาว ต้องคำนึงถึงคุณภาพด้วย!
ตัวอย่างของสิ่งที่ควรคำนึงถึงมีอะไรบ้าง?
- MOVEMENT: คุณภาพในการควบคุมร่างกาย การเคลื่อนไหวอย่างถูกต้อง
- CARDIO: ทำต่อเนื่องได้สม่ำเสมอ โดยที่ไม่รู้สึกเหนื่อยจนเกินไป
- WEIGHT TRAINING: สามารถเพิ่มน้ำหนักที่ท้าทายขึ้นได้ โดนที่ทำท่าได้อย่างถูกต้อง
- STRETCHING: สามารถยืดกล้ามเนื้อ โดยรู้สึกตึงกำลังดี ไม่เจ็บจนเกินไป
ผลข้างเคียงของการออกแบบหนักๆ โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ
ถ้าเราเน้นแต่จะออกหนักๆ แบบเข้มข้นสุดๆ เราอาจจะได้ผลลัพธ์ในระยะสั้น แต่ในระยะยาวอาจจะเจอปัญหาเหล่านี้
- รู้สึกเข็ด เบื่อหน่าย เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกายมันหนัก มันทรมานเหลือเกิน
- ระบบประสาทฟื้นตัวไม่ทัน ไม่มีแรงไปทำงาน ทำกิจกรรมอย่างอื่น หรือเหนื่อยล้าทั้งวัน
- ออกกำลังกายหนัก แต่ทำท่าไม่ถูกต้อง ทำให้พอเหนื่อยมากๆ แล้วเล่นผิด เกิดอาการบาดเจ็บได้
- ร่างกายฟื้นตัวไม่ทัน ทำให้เกิดสภาวะ BURNOUT หรือ OVERTRAINING พูดง่ายๆ คือ “ป่วย”
“ทั้งหมดนี้ไม่ได้ช่วยให้เราได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเลยในระยะยาว”
คำเเนะนำอย่างแรก คือ ให้เราเริ่มปรับความคิดของเราใหม่เสียก่อน
- ไม่ต้องออกหนักตามคนอื่น เพราะแต่ละคนมีร่างกายและเวลาที่ไม่เหมือนกัน
- อย่าเอาผลลัพธ์คนอื่นมากดดันตัวเอง เพราะแต่ละคนมีเป้าหมาย วิธีการ ที่แตกต่างกัน
- อย่าเอาผลลัพธ์ระยะสั้น มาล่อให้ตัวเองติดกับดัก หรือ “หักโหม”
จากนั้นอยากให้คิดถึงความสำคัญของ
- คุณภาพของการเคลื่อนไหว ท่านี้ใช้ส่วนไหนของร่างกาย โฟกัสถูกจุดไหม ทำท่าถูกไหม
- ท้าทายตัวเองแบบมีคุณภาพ ค่อยๆ เพิ่มน้ำหนัก ระยะทาง หรือจำนวนท่า โดยยังคำนึงถึงคุณภาพของการเคลื่อนไหวเสมอ
- เช็คพัฒนาการในแต่ละสัปดาห์ เราเล่นท่านี้ดีขึ้นไหม และทำ CARDIO ได้นานกว่าเดิมไหม หรือยกเวทหนักขึ้นด้วยท่าที่ถูกต้องได้ไหม
- การฟื้นตัว ออกกำลังกายวันนี้ แล้วพรุ่งนี้รู้สึกยังไง ทำงานไหวไหม และสัปดาห์หน้า เล่นโปรแกรมนี้ได้โดยไม่รู้สึกล้าเกินไปไหม
- ทำได้สม่ำเสมอมากน้อยแค่ไหน แบบไม่เครียด หรือกดดันตัวเองจนเกินไป
เเนวทางโปรแกรมของ Fit Junctions จึงเป็นเเนวทางเเบบนี้
- เน้นโปรแกรมที่ดัดแปลงได้ เริ่มจากง่ายๆ น้อยๆ แล้วค่อยเติมให้ยาก + เพิ่มท่าเข้าไป
- มี Backup Plan สำหรับทุกโปรแกรม เช่น ช่วงที่งานยุ่ง ต้องมีโปรแกรมที่เหมาะสมสำรอง
- มี Options สำหรับทุกท่า เช่น เล่นท่านี้ไม่ไหว ปรับเป็นท่าที่ง่ายกว่าได้
- ให้ความสำคัญกับทั้ง WEIGHT TRAINING + CARDIO + MOBILITY + STRETCHING