บาดเจ็บแต่อยากออกกำลัง? 3 ข้อที่ควรรู้ และสาธิตวิธี Workout+Cardio สำหรับคนเจ็บข้อเท้า/เข่า
เรื่องเล่าชีวิตจริง … เอ็นขาดแล้วไม่เจียมตัว พิการตลอดชีวิต! เรื่องจริงของพี่ฟ้า : เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ผมนิ้วมือบาดเจ็บระหว่างแข่งขันกีฬา Flag Football โดยเอานิ้วไปแทงโดนกระดูกเชิงกรานของผู้เล่นอีกทีม ทำให้นิ้วเกิดเสียงดังเป๊าะ และบวม แต่ด้วยความเด็ก และบ้าพลัง ก็แค่เดินมาขอบสนามและเอาถุงพลาสติกจากร้านสะดวกซื้อพันๆไว้ และเล่นต่อจนจบ หลังจากนั้นอาการบวมก็หายไป แต่นิ้วผมขยับไม่ได้และเจ็บมาก ตอนนั้นงานที่ทำคือรับทำอาหารส่งพี่ๆ นักกล้าม เลยไม่สามารถทำอาหารได้ ก็ต้องหยุด แต่ก็ไม่ได้คิดว่าเป็นอะไรมาก เลยปล่อยไว้เกือบเดือน พอถึงเวลาไปหาหมอ หมอบอกว่าเส้นเอ็นขาด! ต้องต่อทันที ซึ่งเราปล่อยมันทิ้งไว้เดือนนึงกว่าจะมาเจอหมอ! แต่ก็ลองต่อดู นอนโรงบาล 3 คืน เจ็บมากๆ (หมอเอาเหล็กเสียบปลายนิ้วไว้เพื่อดามนิ้ว เจ็บมากๆเพราะปลายนิ้วมีเส้นประสาทเยอะ ร้องไห้เลย พยาบาลต้องให้มอร์ฟีนระงับปวดเลยครับ) พอออกจากโรงบาล สิ่งแรกที่ทำคือ… จะเล่นเวท! ก็ไปเล่นทั้งๆที่ยังพันแผลอยู่ ตอนนั้นก็รู้นะว่าต้องเลี่ยงการใช้มือขวาที่เจ็บ แต่ด้วยความบ้าพลัง ก็คิดว่าเอาหน่อยน่ะ นิ้วนางเจ็บ ใช้แค่นิ้วชี้กับโป้งกำดัมเบลก็ได้! และอีกอาทิตย์หนึ่งก็ไปซ้อม Flag Football ต่อ… ทั้งโดนกระแทก เปียกน้ำ เลอะโคลน สุดท้ายพอเอาเหล็กดามออก นิ้วนางข้างขวาผมก็เบี้ยวมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะเอ็นต่อไม่ติด และไม่สามารถงอข้อสุดท้ายของนิ้วนางได้ เป็นอุทาหรณ์ว่า จะบ้าพลัง ต้องมีสมอง…. บทเรียนนี้ราคาแพงมาก ทั้งนิ้วพิการตลอดชีวิต บวกค่าผ่าตัดประมาณ 50,000 ที่ไม่ได้ผล และความเจ็บปวดสามคืนที่นอนโรงพยาบาล บทเรียนที่เรารู้ นำมาสรุปเป็น 3 ข้อง่ายๆ สำหรับคนที่บาดเจ็บ อย่านิ่งดูดาย! ถ้าเจ็บ ต้องหยุดและหาหมอ เพื่อเช็คอาการทันที พักก่อน…. ถ้าหมอบอกว่าพร้อมเมื่อไหร่ค่อยเริ่มออกกำลัง ในส่วนที่ไม่เสี่ยง ดูแลอาหารการกิน ในระหว่างที่พักฟื้น ห้ามอดอาหาร และไม่ควร “ไดเอ็ท” เพราะจะหายช้า แล้วกินยังไง? Calorie สำหรับในช่วงที่มีอาการบาดเจ็บควรจะมีปริมาณมากกว่าปกติ 10-20% เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานพอที่จะไปรักษาอาการบาดเจ็บของเรา ตัวอย่างเช่น นักเรียนปกติกินที่ 2000 Calories ก็ควรจะกินที่ 2400 ในช่วงนี้