Day: May 11, 2020

เล่นเวทให้โดน ให้โต ต้องเจ็บไหม? No pain can gain?

เคยมั้ย เวทแล้วปวด เดินไม่ได้ ไปหาหมอ หมอบอกกล้ามเนื้ออักเสบ วันนี้เราจะมาเจาะลึกเรื่องนี้กันว่า สรุปแล้ว เล่นเวท ต้องเจ็บไหม ถ้าไม่เจ็บ กล้ามขึ้นหรือป่าว สำหรับ serious workout ตอนที่ 17 เรามาตอบคำถามเหล่านี้กันครับ เวทแล้วปวด เกิดขึ้นจากอะไร ปวดแปลว่ากล้ามจะใหญ่ขึ้นจริงไหม กล้ามใหญ่เพราะอะไร ปวดแล้วทำไงดี แล้วทำยังไงไม่ให้ปวด พร้อมแล้วเข้าไปดูได้ที่นี่ครับ สำหรับใครที่ดูจบแล้ว อยากได้ Reference หรือคำแปลศัพท์ที่อยู่ในรายการก็ตามนี้เลยครับ DOMS (delayed onset muscle soreness) แปลว่าอาการปวดของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้น “หลัง” จากการเวทครับ จะต่างกับอาการแสบๆคันหรือที่เกิดขึ้น “ระหว่าง” ที่เรายกเวทนะ (อันนั้นคืออาการแสบเพราะร่างกายมี Lactic acid อันนี้ถ้าใครอยากรู้เม้นถามมาใน facebook ได้ เดี๋ยวจะทำรายการลงลึกให้ครับ) Eccentric Contraction: คือช่วงที่เราต้านน้ำหนักลง เช่นเวลายกดัมเบลขึ้น เรียกว่า concentric ส่วนตอนต้านลงเรียกว่า eccentric ซึ่งยิ่งมีน้ำหนักเยอะ และต้านช้าๆเท่าไหร่ห็จะ doms มากเท่านั้น Intensity: ความเข้มข้นในการฝึก ส่วนใหญ่การฝึกยิ่งพักน้อย ใช้น้ำหนักเยอะ และมีสมาธิในการฝึกมาก = เข้มข้น เปรียยเทียบง่ายๆ ระหว่าง 1. เดินเร็ว 1 ชั่วโมง = ไม่เข้มข้น 2. วิ่งเร็วมากๆ 30 นาที = เข้มข้น Overload: น้ำหนักที่มากกว่าที่เรารับไหว Progressive Overload: การใส่น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น เช่น เดือนนี้เล่นได้ 10kg เดือนหน้าเพิ่มเป็น 11kg ในเวลา 1 ปีอาจจะยกได้ 18kg เป็นการค่อยๆ พัฒนาน้ำหนักเวทที่ใช้ให้หนักขึ้นเพื่อที่กล้ามเนื้อจะได้มีการ overload ตลอด *แต่ว่าอย่า focus

แนะนำแหล่งโปรตีนสำหรับคนกินมังสวิรัติ และไขข้อข้องใจ Vegan ต่างกับ เจ และ Vegetarian ยังไง

สำหรับหลายๆคนที่อยากได้รับโปรตีน แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ วันนี้มีข้อแนะนำหลากหลายทางมาให้ครับ ก่อนอื่นมาดูแหล่งโปรตีนจากพืชกันครับ แหล่งโปรตีนจากพืช Soy Product – หรือถั่วเหลือง ก็มีตั้งแต่เต้าหู้ โปรตีนเกษตร ฟองเต้าหู้ Quinoa – ควินัวเป็นข้าวชนิดหนึ่งซึ่งโปรตีนสูงมาก แต่… แพงมาก! ถุงนึงที่พารากอนขาย 800 บ้าไปแล้ว เพราะทั่วโลกมีปลูกน้อย แต่ demand สูงมาก ถั่วอื่นๆ กินแทนข้าว เช่นถั่วแดง ดำ ขาว เขียว เมล็ดต่างๆ เช่น ฟักทอง เชีย (Chia seed) ทานตะวัน งา Flaxseed ถั่วเปลือกแข็ง เช่นถั่วลิสง อัลมอนด์ วอลนัท Hazelnut พวกนี้ไขมันเยอะ แต่โปรตีนสูง ถ้าเน้นราคาถูกก็ Peanut เลยครับ ผักใบเขียว เช่นผักโขม Broccoli และอื่นๆ มีโปรตีนสูงมากนะ แต่แค่ต้องกินในปริมาณเยอะมากๆ (เฉลี่ยๆประมาณ 4 กรัม ต่อผัก 100 กรัม) แต่สารอาหารที่เราต้องการ และแร่ธาตุสำคัญๆ จะมาจากพวกนี้ เช่นแคลเซียม และ vitamin C Chickpea (แปลกที่ถ้าค้นในเว็บ เค้าไม่ค่อยพูดถึงตัวนี้) เป็นถั่วที่ชาวตะวันออกกลางเอามาทำ Hummus มีโปรตีนสูงมากๆ สำหรับคุณค่าโปรตีนต่อ 100g ถั่วเหลือง = 36g โปรตีนเกษตร = 50g ถั่วลิสงค์ = 26g (แต่ไขมันเยอะ) ข้าวโอ๊ต = 17g ควินัว = 14g เมล็ดฟักทอง = 19g จำเป็นไหมที่ต้องเลี่ยงเนื้อสัตว์ ผมเชื่อในทางสายกลาง หากว่าคุณไม่ได้มีเหตุผลทางศาสนา หรือจำเป็นต้องเคร่งในการเป็นมังสวิรัติละก็

4 เทคนิค กินเจยังไงให้ฟิต: รวมกิจกรรม และข้อแนะนำเรื่องอาหารสำหรับคนกินเจ

กินเจเพื่อสุขภาพ บทความนี้ เราจะมาพูดถึงการกินเจกัน เนื่องจากนี่ก็เข้าสู่เทศกาลกินเจแล้ว สำหรับช่วงเทศกาลกินเจนี้ ก่อนอื่น อยากจะให้ทุกคนรำลึกก่อนว่าสาเหตุที่เราเลือกที่จะกินเจ (หรือไม่กินเจ) นั้น เพราะอะไรบ้างเช่น กินเจเพราะทำบุญ เพราะอยากให้สุขภาพดี หรือเพราะเหตุผลอื่นๆ บทความนี้จะให้คำแนะนำสำหรับคนที่กินเจเพื่อสุขภาพ และอยากฟิตครับ บทความที่เกียวข้อง ไขข้อข้องใจ Vegan ต่างกับ เจ และ Vegetarian ยังไง ปัญหาของการกินเจหลักๆที่เราจะพบคือ โปรตีนหายาก ไขมันสูง เพราะผัด ทอด แป้งเยอะ เพราะส่วนใหญ่ไม่พ้น หมี่ ข้าว อาหารแปรรูปเยอะ หลักๆเลย อาหารเจหลายเมนู ไม่พ้นการทอด และผัด! ผมลองเข้าไป search ดูเมนูที่เป็นโปรตีนเกษตร ซึ่งแทบทุกเมนูนำมาทอด ดังนั้นคำว่ากินเจแล้ว “สุขภาพดี” ข้อนี้ อยากจะย้ำให้ชัดเจนว่า การที่เราเลี่ยงเนื้อสัตว์ แต่มากินอาหารประเภทแป้งๆ ทอดๆ มันๆ ไม่ได้ทำให้เราสุขภาพดีขึ้น! อีกข้อที่อยากเตือนคนกินเจ คือพวกอาหารเจแปรรูป เช่น ปลาเจ ไส้กรอกเจ เนื้อเจ ซึ่งส่วนใหญ่หนีไม่พ้นการนำแป้งมาแปรรูป แต่งกลิ่น สารอาหารแทบจะไม่มี ดังนั้นถ้าเราจะกินเจเพราะเหตุผลทางใจ ควรเลิกคิดที่จะกินของเทียมๆเหล่านี้ และเลือกกินของสดดีกว่าครับ อาหารเจที่เราควรเลี่ยง! ผัดหมี่ ข้าวผัด ผัดผักที่ผัดทิ้งไว้นานแล้ว (มาเป็นถาดๆ มันเยิ้มๆ) ต้มจับฉ่าย หรือพวกแกงที่ต้มเอาไว้นานๆ แกงกะทิมันๆ เต้าหู้ทอด หรือพวกแป้งทอดทั้งหลาย (มันเยิ้มมม กิน french fries เถอะ อร่อยกว่าด้วย) ดูแล้ว…. นี่มันแทบจะทุกเมนูเลยนะ งั้นเรามาดูกัน ว่า 4 ข้อ ในช่วงเจ เราจะฟิตได้ยังไงบ้าง? 1. กินโปรตีน! ก่อนอื่นเรามาดูวิดีโอนี้กันเลยครับ 2. กินผัก กินผักสด หรือผักที่ลวก ต้ม เป็นเวลาไม่นานนัก: การกินผักสด จะมีข้อดีคือเราได้วิตามินและแร่ธาตุเช่น Vitamin

แค่ไหนคือน้อยไป:สารอาหารหลัก

สารอาหาร..เท่าไหร่ คือน้อยไป? เราเคยได้ยินกันบ่อยๆว่ากินน้อยระวังขาดสารอาหาร วันนี้เราเจาะลึกกันครับ ว่าสารอาหาร แค่ไหนที่ควรได้รับ! ก่อนอื่นพลังงานที่เราควรจะได้รับ ขั้นต่ำ อิงจากสถาบัน American College of Sports Medicine (ACSM) สำหรับผู้ชาย คือไม่ต่ำกว่า 1800 และผู้หญิง ไม่ต่ำกว่า 1200 Calories ต่อวัน พอเรารู้แล้วว่าเราควรได้รับพลังงานเท่าไหร่ ทีนี้เรามาเจาะสารอาหารแต่ละอย่างกันครับ ว่าอย่างน้อยๆ เราควรได้รับอะไร เท่าไหร่บ้าง ———— โปรตีน เริ่มจากโปรตีน ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย สาเหตุที่เริ่มจากโปรตีนก่อน เนื่องจากโปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความต้องการขั้นต่ำอยู่ชัดเจน เพราะมีความจำเป็นต้องได้รับ ซึ่งหากไม่ได้รับเพียงพอ ร่างกายจะไปนำกล้ามเนื้อมาแตกตัว ทำให้ร่างกายเราถดถอยครับ สำหรับแป้งนั้น เราสามารถอยู่ได้โดยไม่กินแป้ง หรือกินแป้งน้อย เป็นระยะเวลาหนึ่ง (ยกเว้นคนที่ออกกำลังหนักๆ ถ้าออกกำลังหนักและขาดแป้ง รับรองว่าโทรม) และไขมัน เราสามารถซึ่งถึงแม้ว่ามีความจำเป็นที่ต้องกิน เนื่องจากร่างกายต้องใช้ไขมันในการเป็นตัวช่วยผลิตฮอร์โมนส์ต่างๆ แต่หากเรากินไขมันน้อยเป็นเวลาไม่กี่วัน ก็ไม่ได้เกิดผลเสียที่ “แย่” เท่ากับการขาดโปรตีน ดังนั้นจึงคำนวนโปรตีนก่อนครับ สำหรับปริมาณโปรตีนขั้นต่ำที่ควรได้รับ ผมขอแปลมาจาก Webmd ตามนี้ครับ เด็กทารก = 10 กรัมต่อวัน เด็กวัยเรียน = 19-34 กรัมต่อวัน เด็กวัยรุ่นผู้ชาย = มากกว่า 52 กรัมต่อวัน เด็กวัยรุ่นผู้หญิง = 46 กรัมต่อวัน ผู้ใหญ่ ผู้ชาย = 56 กรัมต่อวัน ผู้ใหญ่ ผู้หญิง = 46 กรัมต่อวัน ผู้หญิงท้อง หรือให้นมลูก = 71 กรัมต่อวัน ตัวเลขเหล่านี้เป็นแค่ขั้นต่ำ สำหรับคนที่ไม่ได้คิดจะ “ฟิตหุ่น” นะครับ ซึ่งหากว่าเราต้องการสร้างกล้ามเนื้อ ก็เอาน้ำหนักตัว คูณด้วย 1.4-2.3 ก็จะได้โปรตีน สมมุตว่าถ้าเราหนัก

แค่ไหนคือน้อยไป: วิตามินและแร่ธาตุ 3 ข้อผิดพลาดที่คนลดความอ้วนทำกันบ่อยๆ

วิตามิน และแร่ธาตุ เท่าไหร่ คือน้อยไป… 3 ข้อผิดพลาดที่คนลดความอ้วนทำกันบ่อยๆ บทความนี้ เรามาคุยกันเรื่อง 3 ข้อผิดพลาดที่เราทำกันบ่อยๆ เวลาลดความอ้วน ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการขาดสารอาหารประเภทวิตามินและแร่ธาตุ ซึ่งใครที่ลดความอ้วน แล้วมีอาการเหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง ผิวแห้ง ปากแห้ง ผมร่วง ไม่มีอารมณ์ทางเพศ ป่วยบ่อย ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการขาดสารอาหารประเภทวิตามินและแร่ธาตุครับ วันนี้เราจะมาเจาะ 3 ปัญหากัน ——— 1 ไม่ยอมกินไขมัน หลายๆคน เวลาลดไขมัน มักจะหันมากินอะไรที่ Low Fat / Non Fat เช่น ดื่มแต่นมไร้ไขมัน กินแต่อกไก่ ไข่ขาว ไม่กินไข่แดง โยเกิร์ตไขมันต่ำ ทำให้บ่อยครั้งที่เกิดอาการร่างกายขาดไขมันขึ้น คำถามคือ แล้วไขมันในร่างกาย ก็มีเยอะแยะ ทำไมต้องกินอีก? ลองนึกภาพว่าไขมันในร่างกาย จุดประสงค์คือการเก็บเพื่อเป็นพลังงานสำรอง แต่ไขมันที่เราควรจะได้รับในทุกๆวันนั้น มีความสำคัญ เพราะมันเป็นการบอกร่างกายเราว่า “เราจะไม่อดตาย” หากว่าเราไม่ยอมกินไขมันเลย สิ่งที่จะเกิดคือร่างกายคิดว่ามีบางอย่างผิดปกติ (เห้ย มันกำลังจะอดตายแน่ๆเลย!) จึงยิ่งเก็บไขมันสะสมมากขึ้น จากนั้น เนื่องจากมีวิตามินที่ละลายในไขมัน คือ A E D K ซึ่งหน้าที่สำคัญๆก็มีตั้งแต่ช่วยเรื่องการมองเห็น บำรุงผิว บำรุงกระดูก สร้าง Hormones และอีกมากมาย ซึ่งพอเราขาดไขมัน วิตามินเหล่านี้ก็ดูดซึมยาก ทำให้เกิดผลกระทบมากมายต่อสุขภาพครับ แหล่งไขมันที่แนะนำ: ปลาทะเล ถั่ว ไข่ไก่ (ในปริมาณที่พอเหมาะ) แหล่ง Vitamin A E D K: แครอต ผักโขม ถั่วอัลมอนด์ ไข่ทั้่งฟอง ปลาทะเล และผักใบเขียวแทบทุกชนิดมีค่อนข้างครบ ส่วนแหล่ง Vitamin D ที่ดีที่สุดคือแสงแดดครับ ——— 2 ขาดวิตามิน C อาการขาดวิตามิน

ช่วงสิ้นปี กินยังไงไม่ให้อ้วน 4 เทคนิคง่ายๆ ช่วยให้มีความสุข

Christmas ปีใหม่ ช่วงวันหยุด ควรเคร่งคุมอาหารต่อไหม หรือ กินๆไปเถอะ? โค้งสุดท้ายของปีนี้แล้ว วันนี้อยากเขียนบทความแนะนำทุกคนเพื่อที่เราจะได้ “หลุดโค้ง” อย่างปลอดภัยครับ แน่นอนว่าช่วงปีใหม่นี้ ทุกคนมีปาร์ตี้ มีแผนไปเที่ยว (หรือนอนอยู่กับบ้าน กินๆนอนๆ เหมือนผม) ซึ่งถึงใครจะบอกว่า “ปีใหม่อย่ากินเยอะนะ”ผมว่า 99% ไม่มีใครทำตาม เพราะการกินของอร่อย ทำให้ชีวิตมีความสุข และสิ้นปีแล้ว ใครๆก็อยากหาความสุขใส่ตัวเป็นรางวัล ดังนั้น แทนที่จะห้ามไม่ให้ทุกคนกิน เรามาเรียนรู้การกินช่วงปีใหม่กันดีกว่า อันดับแรก ก่อนเริ่ม หากใครที่มีเป้าหมายลดไขมัน และกำลังอยู่ในช่วงลดอยู่ และกำลังไปได้สวย ผมแนะนำว่าช่วงนี้ก็ “หลุด” อย่างตั้งใจและมีสติ เข้าสังคม กินข้าวกับเพื่อน ครอบครัว เพื่อจะได้รู้สึกเป็นผู้เป็นคนกับเค้าบ้าง แล้วกลับมาทำตามเป้าหมายต่อ ส่วนใครที่ไม่ได้ทำอะไรอยู่ คือรอลดไขมันหลังปีใหม่ ช่วงนี้ให้คิดซะว่ากินได้ แต่ก็ต้องมีสติเช่นกัน เพราะถ้ากินแหลกแล้วปล่อยให้ตัวเองอ้วน หลังปีใหม่ก็ยิ่งต้องลดยาก เหนื่อยมากขึ้นนะ สำหรับเทคนิควันนี้ มีไม่กี่ข้อเอง มาดูกันครับ จะได้กินอร่อย อย่างมีสติ และเป็นระบบ จะได้ไม่ต้องรู้สึกผิดว่าช่วงปีใหม่จะอ้วนครับ 1. วางแผนการกินให้ดี แล้วจะไม่เรียกว่า ‘หลุด’– คิดก่อนเลยว่าอยากกินอะไร แล้วมื้อ เช้า กลางวัน ให้กิน Protein (แนะนำไข่ขาว และเนื้อสัตว์ กับผัก)ให้เยอะไว้ก่อน พอตกเย็น เหลือแคลสัก 1000 ก็จัดเต็มการที่เราคิด และรู้ล่วงหน้าว่าเราจะอยู่ที่ไหน กินอะไร เมื่อไหร่ ช่วยได้มากทีเดียวถ้ารู้ตัวว่าไปที่ที่ไม่มีโปรตีน / อาหารดีๆกิน ก็พกไข่ต้ม พก whey ไปเอง ไม่ยากเลย 2. ทำตัวเองให้ active ไม่จำเป็นต้องไปยิมก็ได้ เพราะถ้าผมไปเที่ยว ก็ไม่เข้ายิมเหมือนกัน (แต่ปีนี้ผมอยู่กทม ยิมอย่างโล่ง! ชอบมากเลย) หากเราไปเที่ยว เป็นโอกาสที่ดีที่เราจะได้พักผ่อนร่างกายดังนั้น พักผ่อนให้เต็มที่! แต่การทำตัวให้ Active นั้นเราสามารถทำไ้ด้ง่ายๆโดยไม่ต้องเข้ายิม แต่เป็นการทำกิจกรรมในแตละวันให้มากขึ้น มีอยู่ปีนึงผมอยู่ที่กทม.

กินเยอะขึ้น เพื่อให้ลีนขึ้น? เทคนิคการลดไขมันที่ควรรู้

เวลาเราอยากลดไขมัน หรือต้องการมีร่างกายที่ลีนๆ กล้ามชัดๆ ถ้าตาม Common sense แล้ว เรามักจะพยายามกินให้น้อยลง และออกกำลังกายเยอะขึ้น วันนี้จะมาอธิบายกันเป็นข้อๆครับ ว่าจริงๆแล้วคนเราสามารถกินได้เยอะขึ้น และลดไขมันได้ยังไง คำถามคือ แล้วกินเยอะขึ้น ทำไมลีนขึ้น? แทนที่จะอ้วนขึ้น ที่เรารู้ๆกันอยู่ ว่าสรรจธรรมของความอ้วนก็คือ กินมากกว่าที่เราใช้ = อ้วนขึ้น กินน้อยกว่าที่ใช้ = ผอมลง แต่มีอีกข้อหนึ่งที่เราควรรู้ คือ “ยิ่งกินน้อย ร่างกายยิ่งใช้พลังงานน้อย” และ “ยิ่งกินมาก ร่างกายยิ่งใช้พลังงานมาก” ดังนั้น จริงๆแล้วการที่เราจะผอมลง (ลดไขมัน) มันไม่จำเป็นที่เราต้องกินน้อยเสมอไปครับ เพราะว่ายิ่งกินน้อย ร่างกายยิ่งไม่ยอมเอาพลังงานมาใช้ กล้ามเนื้อยิ่งหดหาย สิ่งที่คนกินน้อยๆมักจะเจอ (อันนี้นักเรียนผมแทบ 90% ที่เป็นผู้หญิง มักจะผ่านจุดนี้มาก่อน) ถ้ากินน้อย + ออกกำลังหนักเกิดอะไรขึ้น ช่วงแรกน้ำหนักลงเร็วมาก รู้สึกดี ผอมเร็ว สักพักเริ่มตัน น้ำหนักไม่ลง ลด Calorie อีก น้ำหนักลดต่อ แต่ช้ากว่าเดิม แล้วก็ตัน ลด Calorie อีก น้ำหนักลดต่อ แต่ช้ากว่าเดิม ทำซ้ำไปเรื่อยๆ น้ำหนักเริ่มไม่ลด ทั้งๆที่กินน้อยมาก แถม cardio เยอะ สมองเริ่มคิดถึงแต่เรื่องอาหาร เพราะวันๆกินไม่พอใช้ กลายเป็นหมกมุ่นกับอาหาร วันๆคิดถึงอาหาร กินอะไรก็รู้สึกผิด แต่ทั้งๆที่รู้สึกผิด ก็ยังตะบะแตก แล้วก็กลับมาอ้วนอย่างรวดเร็ว ทีนี้จะลดก็ไม่ได้แล้ว เพราะเรากินน้อยมาจนร่างกายชิน ทำให้ต้องทำใจ ปล่อยไหล นี่เป็นวงจรของคนที่ลดความอ้วนไม่สำเร็จหลายคน ซึ่งจุดที่สำคัญที่สุดที่ผมอยากให้สังเกตุ คือข้อ 8-9 ซึ่งเป็นสภาวะของจิตใจ ครับ เนื่องจากยิ่งกินน้อย ยิ่งรู้สึกขาด ไม่เติมเต็ม ทำให้ยิ่งต้องหาอะไรทดแทน นี่แหละอันตรายที่สุด แล้วทำยังไง? ถ้าให้ตอบแบบกำปั้นทุบดิน แบบตรงๆเลย จะตอบว่า “อย่าใจร้อนรีบลด อย่าไปคิดว่าจะต้องลดให้ได้ XX kg

ปีใหม่คนใหม่ … ตั้งเป้ายังไงไม่ให้ซ้ำรอยเดิมๆ

พอถึงช่วงปีใหม่ เปิด Social ไหนก็จะเจอแต่ “ปีใหม่นี้ต้องผอม” “ปีใหม่คนใหม่” “เป้าหมายปีใหม่” และ New year’s resolution อีกมากมายซึ่งแน่นอนว่าถ้าเราย้อนไปปีก่อนๆ ก็พูดเหมือนเดิมนี่แหละ ดังนั้นวันนี้เรามาดูกัน ว่าจะตั้งเป้าหมายยังไง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องตั้งเป้าซ้ำอีกปีหน้า เรื่องมันมีอยู่ว่า เวลาต้นปี เรามักจะตั้งเป้าหมายกันใหญ่โต แต่ลืมไปว่าการตั้งเป้าหมายระยะเวลา 1 ปีนั้น มีจุดด้อยหลายอย่าง มันนานมาก จนไม่กี่เดือนผ่านไป เราก็ลืมแล้ว มันนานมาก จนท้อ เพราะไม่ได้ผลสักที มันนานมาก จนเราคิดว่า ปีหน้าก็เอาใหม่ก็ได้ เป้าหมายมันใหญ่ไป (เพราะเวลาเยอะ) ทำให้เห็นผลช้าเกินไป ด้วยความที่ตั้งกันทุกปี เวลา fail ก็คิดว่า “ไม่เป็นไร ช่างแมร่ง ปีหน้าเอาใหม่ ตอนนี้ไหนๆก็พลาดและ ขอกินก่อน” ภาคทฤษฎีวันนี้ขอนำเสนอทฤษฎีง่ายๆ ไม่กี่ข้อครับ SMART GOAL ตั้งเป้าหมายยังไง ให้ฉลาด อธิบายได้ง่ายๆ 5 ข้อ ส่วนใครอยากรู้ละเอียดๆ เข้าไปดูในรายการได้ Sustainable – แปลว่า สามารถทำต่อเนื่องได้ Measurable – แปลว่า วัดผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน Attainable – แปลว่า สามารถทำได้ (ไม่ใช่ตั้งเป้าว่าอยากบินได้ หรือปล่อยพลังได้ อันนี้เว่อไป) Relevant – แปลว่า เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราต้องการ เช่น อยากกล้ามใหญ่ แต่ดันตั้งเป้าว่าต้องวิ่งมาราธอน 42กิโล Time Bound – แปลว่า ต้องมีเวลากำหนดชัดเจน มี Time Frame เปลี่ยนเป้าหมาย! จากที่เคยตั้งเป้าหายว่า ปีนี้จะผอม เปลี่ยนเป็น > เดือนนี้จะออกกำลังให้ได้กี่วัน > เดือนนี้ฉันจะกินอาหารเท่าไหร่ > เดือนนี้ฉันจะลดไขมัน X กิโล ปีนี้่จะเพิ่มกล้าม

วิธีคำนวณสารอาหาร ในอาหารต่างๆ

ใครเคยได้ยินบ้าง ว่า คนเราควรได้รับโปรตีนประมาณเท่านั้นเท่านี้ ต่อน้ำหนักตัว หรือควรกินน้ำตาลไม่เกินกี่ช้อนต่อวัน หรือไขมันไม่เกินเท่าไหร่ คำถามคือ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารที่เรากินๆกินทุกวันมันมีสารอาหารอะไรบ้าง!? วันนี้เรามาดูกันเป็นข้อๆครับ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันก่อน ว่าสารอาหารที่เราควรรู้จัก มีอะไรบ้าง ซึ่งหลักๆแล้วแบ่งเป็น สารอาหารหลัก (macronutrients) ที่เราต้องได้รับเป็นจำนวนมากในทุกๆวัน และสารอาหารย่อย (micronutrients) ที่เราควรได้รับในปริมาณที่ไม่มาก เช่นวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งวันนี้เราจะพูดถึงแต่ Macronutrients เพราะวิตามินและแร่ธาตุ มีหลากหลายชนิดมาก มากจนถ้าเราต้องมานั่งคำนวนทุกอย่างในทุกๆวัน คงไม่ต้องทำอะไรกันพอดี Macronutrients มีอะไรบ้าง โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรท (ขอทับศัพท์ว่าแป้ง) แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าอาหารที่กินมีอะไรเท่าไหร่ ตอบตรงนี้เลยว่าเราต้องศึกษาเพิ่มเติมครับ ซึ่งวิธีที่ผมแนะนำอันดับ 1 เลยคือ Google และจริงๆแล้วขั้นตอนในการหาสารอาหาร จริงๆแล้วไม่ยากเลย สำหรับอาหารที่มีฉลากโภชนาการ ดูหน่วยบริโภคก่อน ว่า “ทั้งห่อ” แบ่งเป็นกี่ “หน่วย” เพราะบางครั้ง 1 ห่อ อาจจะแบ่งกินได้ 4 ครั้ง ถ้าเราไม่อ่านฉลากให้ดีๆ จะคิดว่า “Calories น้อยจัง ดีเนอะ” ที่ไหนได้ ตัวเลขนั้นมันคูณ 4 เพราะฉลากเค้าจะแบ่งหน่วยบริโภคครับ ดูปริมาณสารอาหารต่างๆตามในฉลากได้เลย สิ่งที่มือใหม่มักจะสับสนคือ ปริมาณแป้ง น้ำตาล ไฟเบอร์ นับยังไง ให้นับเฉพาะปริมาณแป้งตัวที่อยู่ข้างบนสุดครับ อันนี้คือรวมมาแล้วส่วนตัวเลขไขมัน ก็นับแค่ตัวเลขไขมันตัวบนสุด เพราะมันรวมเอาไขมันทุดชนิดมาไว้ด้วยกันแล้วครับ สำหรับอาหารที่ไม่มีฉลากโภชนาการ ระบุอาหารที่เรากินก่อน ว่ามันปรุงอย่างไร มีส่วนผสมอะไรบ้าง ถ้าไม่รู้ ก็ search หาสูตรในเว็บ รับรองมีแน่นอน พอได้สูตรของอาหารมา เราก็นำสารอาหารแต่ละอย่างมากะปริมาณ ตรงนี้ ถ้าเรามีเครื่องชั่งอาหาร จะช่วยให้เราชั่งได้แม่นยำขึ้น (จะซื้อมาชั่งที่บ้าน หรือเอาตราชั่งไปชั่งที่ร้านก็ได้ แล้วแต่) ตัวอย่างเช่น: ขนมจีบ ผมพิมพ์เข้าไปใน Google ก็จะได้ออกมาตามนี้ พอรู้แล้วว่ามีส่วนผสมอะไร น้ำหนักเท่าไหร่ ก็กด google แล้วหาค่าพลังงานและสารอาหารนั้นๆ ทำจนครบทุกส่วนผสมหลักๆ

Cardio ตอนท้องว่างเผาผลาญไขมันได้มากกว่าจริงหรือ ?

เคยมั้ย อยากลดไขมัน เลยต้องตื่นมาวิ่งแต่เช้า ก่อนกินข้าวเช้า เพราะเคยได้ยินมาว่าการวิ่งตอนท้องว่าง ร่างกายเผาผลาญได้ดีกว่า วันนี้เราให้นักวิทยาศาสตร์การกีฬา เอาหลักฐานจากงานวิจัยมาให้ดูกันชัดๆ ว่าสรุปแล้ว มัน Burn มากกว่ากินจริงหรือเปล่า? ท้ายบทมีคำแปลคำศัพท์ให้เป็นภาษาบ้านๆแล้ว! ถ้าใครอ่านๆไปแล้วเกิดงง เลื่อนลงไปดูได้เลยครับ เราอาจเคยได้ยิน ทฤษฎีที่ว่า หากเราคาดิโอตอนท้องว่าง จะสามารถเบิร์นไขมันออกไปได้มากกว่า ? เหตุผลที่เค้าว่ากันก็เพราะว่า “เฮ้ยก็ยังไม่กินอะไร ร่างกายก็ได้ใช้ไขมันของเก่าไปก่อนไง ง่ายจะตาย common sense” ซึ่งมีงานวิจัยหลายฉบับได้พบว่า เมื่อเราคาดิโอตอนเช้าในขณะที่ท้องว่าง เราจะเผาผลาญไขมันเพิ่มขึ้น 20% กล่าวคือ ตอนกลางคืนขณะที่เราหลับ น้ำตาลในเลือดลดต่ำลง ร่างกายจะเก็บไกลโคเจนที่เหลือเพียงน้อยนิดไว้ และเปลี่ยนไปใช้ไขมันมากขึ้น แต่ที่มากกว่านั้น ร่างกายก็จะสลายโปรตีนในร่างกายมาใช้ด้วย นั่นก็คือกล้ามเนื้อที่เราเฝ้าฟูมฟักมาหลายเดือนหรือหลายปี คงไม่ดีหนักหาก เป้าหมายในขณะนั้นของเราคือการเพิ่มกล้ามเนื้อ หรือรักษามวลกล้ามเนื้อไว้ให้ดีที่สุด ประโยชน์ของการคาดิโอตอนท้องว่าง การออกกำลังกายตอนท้องว่าง มีข้อดีคือเพิ่มการใช้ไขมันเป็นพลังงาน หรือ fat utilization เพียงเล็กน้อย ที่ความหนักต่ำๆ (Fat utilization คือการสลาย Triglycerides ให้เป็น Fatty acid ให้ร่างกายนำไปใช้ ) 1.เพราะถ้าใช้ความหนักสูงขึ้น แหล่งพลังงานหลักคือ คาร์โบไฮเดรต แต่ร่างกายขาดคาร์โบไฮเดรต นั้นยิ่งทำให้ต้องสลายโปรตีน(กล้ามเนื้อ)ออกมามากขึ้น 2.ความหนักสูงขึ้น ร่างกายก็สลาย fatty acid ออกมามากขึ้นก็จริงในขณะคาดิโอตอนท้องว่าง แต่ !! อัตราการสลายนั้นมากกว่า ความสามารถที่ร่างกายจะใช้ได้ พูดง่ายๆก็คือ เราจะมีปริมาณ fatty acid มาล่องลอยอยู่ในเลือดเราอย่างมากมาย แต่ร่างกายเอาไปใช้ไม่ได้ และในที่สุด fatty acid เหล่านี้ ก็จะถูกกลับไปเก็บเป็นไขมันสะสมอีกครั้ง หลังออกกำลังกาย แต่! จากงานวิจัยของ Horowitz and colleagues พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกายที่ความหนักต่ำๆ 50% ของ อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในการใช้ไขมัน โดยไม่คำนึงว่ากลุ่มตัวอย่างนั้นจะท้องว่างหรือไม่ ผลการวิจัยนี้ ยังบอกว่า”หลัง 90