Day: November 5, 2022

เครียดจัด! จิตตก! กลัวออกกำลังกายไม่หนักพอ?

ใครเคยรู้สึกว่าตัวเองออกกำลังกายไม่มากพอบ้าง? หรือมีความกังวลว่าจะไม่ได้ผล? จนเกิดความเครียด สับสน บางคนถึงขั้นจิตตก! สรุปแล้วเราต้องออกกำลังกายหนักแค่ไหนถึงจะดี? ถ้าออกกำลังกายไม่หนักพอ จะฟิตหุ่นได้ไหม? ตอบสั้นๆ เลยว่า “ได้!” เพราะการจะลดไขมัน ฟิตหุ่นให้ดี ยังมีอีกหลายมิติให้เรียนรู้มาก  ปริมาณ และ คุณภาพ คือ 2 สิ่งที่ต้องคำนึงอยู่เสมอ การใช้ความรู้สึกเหนื่อย น้ำหนักที่ยกได้ หรือแม้แต่ระยะทางที่เราวิ่งได้ เป็นเพียงผลลัพธ์ระยะสั้นๆ ที่ไม่ได้สะท้อนถึงผลลัพธ์ในระยะยาว เพราะการจะออกกำลังกายให้ได้ผลในระยะยาว ต้องคำนึงถึงคุณภาพด้วย!  ตัวอย่างของสิ่งที่ควรคำนึงถึงมีอะไรบ้าง? MOVEMENT: คุณภาพในการควบคุมร่างกาย การเคลื่อนไหวอย่างถูกต้อง CARDIO: ทำต่อเนื่องได้สม่ำเสมอ โดยที่ไม่รู้สึกเหนื่อยจนเกินไป WEIGHT TRAINING: สามารถเพิ่มน้ำหนักที่ท้าทายขึ้นได้ โดนที่ทำท่าได้อย่างถูกต้อง STRETCHING: สามารถยืดกล้ามเนื้อ โดยรู้สึกตึงกำลังดี ไม่เจ็บจนเกินไป ผลข้างเคียงของการออกแบบหนักๆ โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ ถ้าเราเน้นแต่จะออกหนักๆ แบบเข้มข้นสุดๆ เราอาจจะได้ผลลัพธ์ในระยะสั้น แต่ในระยะยาวอาจจะเจอปัญหาเหล่านี้ รู้สึกเข็ด เบื่อหน่าย เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกายมันหนัก มันทรมานเหลือเกิน  ระบบประสาทฟื้นตัวไม่ทัน ไม่มีแรงไปทำงาน ทำกิจกรรมอย่างอื่น หรือเหนื่อยล้าทั้งวัน ออกกำลังกายหนัก แต่ทำท่าไม่ถูกต้อง ทำให้พอเหนื่อยมากๆ แล้วเล่นผิด เกิดอาการบาดเจ็บได้ ร่างกายฟื้นตัวไม่ทัน ทำให้เกิดสภาวะ BURNOUT หรือ OVERTRAINING พูดง่ายๆ คือ  “ป่วย” “ทั้งหมดนี้ไม่ได้ช่วยให้เราได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเลยในระยะยาว” คำเเนะนำอย่างแรก คือ ให้เราเริ่มปรับความคิดของเราใหม่เสียก่อน ไม่ต้องออกหนักตามคนอื่น เพราะแต่ละคนมีร่างกายและเวลาที่ไม่เหมือนกัน อย่าเอาผลลัพธ์คนอื่นมากดดันตัวเอง เพราะแต่ละคนมีเป้าหมาย วิธีการ ที่แตกต่างกัน อย่าเอาผลลัพธ์ระยะสั้น มาล่อให้ตัวเองติดกับดัก หรือ “หักโหม” จากนั้นอยากให้คิดถึงความสำคัญของ คุณภาพของการเคลื่อนไหว ท่านี้ใช้ส่วนไหนของร่างกาย โฟกัสถูกจุดไหม ทำท่าถูกไหม  ท้าทายตัวเองแบบมีคุณภาพ ค่อยๆ เพิ่มน้ำหนัก ระยะทาง หรือจำนวนท่า โดยยังคำนึงถึงคุณภาพของการเคลื่อนไหวเสมอ เช็คพัฒนาการในแต่ละสัปดาห์ เราเล่นท่านี้ดีขึ้นไหม และทำ CARDIO ได้นานกว่าเดิมไหม หรือยกเวทหนักขึ้นด้วยท่าที่ถูกต้องได้ไหม การฟื้นตัว ออกกำลังกายวันนี้ แล้วพรุ่งนี้รู้สึกยังไง ทำงานไหวไหม และสัปดาห์หน้า เล่นโปรแกรมนี้ได้โดยไม่รู้สึกล้าเกินไปไหม ทำได้สม่ำเสมอมากน้อยแค่ไหน แบบไม่เครียด หรือกดดันตัวเองจนเกินไป เเนวทางโปรแกรมของ Fit Junctions จึงเป็นเเนวทางเเบบนี้ เน้นโปรแกรมที่ดัดแปลงได้ เริ่มจากง่ายๆ น้อยๆ แล้วค่อยเติมให้ยาก + เพิ่มท่าเข้าไป มี Backup Plan สำหรับทุกโปรแกรม เช่น ช่วงที่งานยุ่ง ต้องมีโปรแกรมที่เหมาะสมสำรอง มี Options สำหรับทุกท่า เช่น เล่นท่านี้ไม่ไหว ปรับเป็นท่าที่ง่ายกว่าได้  ให้ความสำคัญกับทั้ง WEIGHT TRAINING + CARDIO + MOBILITY + STRETCHING